วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

บราซิลเตรียมเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า



บราซิลเตรียมเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า

นาย Luiz Inacio Lula da Silva ประธานาธิบดีบราซิล ได้กล่าวว่า มีการค้นพบแหล่งน้ำมันแหล่งใหม่ในชั้น

หิน pre-salt การค้นพบครั้งนี้ แม้จะไม่ได้ทำให้บราซิลเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายสำ คัญของโลก แต่ก็ทำ

ให้เกิดอุตสาหกรรมน้ำ มันในประเทศ สามารถนำเป็นสินค้าส่งออกได้ ขณะนี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมการใน

การเข้าไปจัดการดูแลการใช้ประโยชน์กับแหล่งน้ำมัน โดยมีการประเมินกันว่า จะมีปริมาณน้ำมันสำรอง

ประมาณ 70 พันล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นปริมาณที่จะทำให้บราซิลเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

นาย Lula กล่าวต่อว่า ประชาชนทุกคนต้องได้ประโยชน์จากการค้นพบแหล่งน้ำมันนี้ อย่างเช่นการนำรายได้

จากแหล่งน้ำมันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรมนูญบราซิล ที่ว่า

น้ำมันสำรองของประเทศเป็นของทุกคน การค้นพบแหล่งน้ำมันนี้ ประกาศโดยบริษัท Petrobras ซึ่งเป็น

บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของรัฐบาล โดยแหล่งน้ำมันดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ Santos Basin ทางชายฝั่ง

ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ปัจจุบัน บราซิลนับเป็นประเทศผู้ผลิตเอทานอลจากอ้อยรายใหญ่สุดของโลก

แหล่งข่าว : http://www.chinadaily/

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

แผนพลังงานอีก 20 ปีข้างหน้าของฮ่องกง

รายงานข่าวและสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหว
ด้านพลังงานระหว่างประเทศ
วันที่ 1 กันยายน 2551 – 9 กันยายน 2551
บทสรุปผู้บริหาร
แผนพลังงานอีก 20 ปีข้างหน้าของฮ่องกง
ทางการฮ่องกงและทางการจีนแผ่นดินใหญ่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการประกัน
เชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์และก๊าซธรรมชาติในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่ง
MOU ดังกล่าวได้ทำให้ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างศูนย์ก๊าซธรรมชาติในฮ่องกง ซึ่งแหล่งข่าวจาก
รัฐบาลแจ้งว่า การตัดสินใจนี้จะช่วยให้ฮ่องกงสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 1 พันล้านดอลล่าร์
ฮ่องกงต่อปี การลงนามใน MOU นี้ เป็นการลงนามระหว่างนาย Donald Tsang ผู้นำฮ่องกง กับ
นาย Zhang Guobao ผู้บริหาร National Energy
Administration นอกจากนั้น บริษัท China
Guangdong Nuclear Power Holding จะจัดทำ
ข้อตกลงใหม่ในการจัดส่งไฟฟ้าให้กับฮ่องกง
ต่อไปอีกเป็นเวลา 20 ปีในปริมาณที่ไม่น้อยกว่า
ในปัจจุบัน ส่วนบริษัท China National Offshore
Oil Corporation (CNOOC) ก็จะจัดทำข้อตกลงใหม่
ในการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับฮ่องกงเป็นเวลา
20 ปี ฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ได้เห็นพ้องว่า
จะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดส่งก๊าซ
ธรรมชาติไปยังฮ่องกงผ่านท่อส่งก๊าซฝั่ง
ตะวันออก-ตะวันตกเส้นที่ 2 และจะมีการร่วมกันก่อสร้างศูนย์ก๊าซธรรมชาติในเมือง Shenhen
ข้อตกลงใน MOU ในการจัดส่งก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่คงที่จะเป็นการช่วยให้ฮ่องกงไม่ต้อง
ก่อสร้างศูนย์ก๊าซธรรมชาติในประเทศ นอกจากจะช่วยลดเรื่องค่าไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยลดปัญหา
มลพิษในฮ่องกงอีกด้วย ปัจจุบัน ฮ่องกงผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน 60% ก๊าซธรรมชาติ 20% และ
นิวเคลียร์อีก 20% โดยรัฐบาลต้องการให้เพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติเป็น 50% MOU
เป็นการประกันว่าบริษัท CNOOC จะต้องจัดส่งก๊าซธรรมชาติไปกับบริษัท CLP Power อย่างน้อย
2 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
แหล่งข่าว :
www.chinadaily.com.cn

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

รายงานข่าวและสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ด้านพลังงานระหว่างประเทศ







รายงานข่าวและสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหว
ด้านพลังงานระหว่างประเทศ
วันที่ 20 สิงหาคม 2551 – 22 สิงหาคม 2551







ภาพแสดงปริมาณการใช้น้ำมันในจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง, ภาพจาก news.mongabay.com
สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
สป.พน.





จีนยังไม่ตัดสินใจปรับราคาพลังงานหลังโอลิมปิก

นาย Zhang Guobao เจ้าหน้าที่ของ National Energy
Administration (NEA) ของจีนแจ้งว่า แนวโน้มด้านราคา
ถ่านหิน ไฟฟ้า และน้ำมันหลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ซึ่งรวมถึงสถานการณ์การพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจ อุปสงค์และอุปทานทั้งภายในประเทศและ
ต่างประเทศ โดยราคานั้นจะสะท้อนจากอุปสงค์และ
อุปทาน และจีนก็อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงจากระบบ
ราคาที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลมาเป็นระบบ
ราคาตลาด ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะค่อยๆปรับตัวให้
เท่ากับราคาตลาดโลก ซึ่งแม้ว่าจะมีการปรับราคาน้ำมัน
เบนซิน ดีเซล ไปแล้วเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน แต่ราคาก็ยัง
ถือว่าต่ำกว่าราคาในตลาดโลก ดังนั้น ราคาพลังงานจะ
ไม่ได้ถูกกำหนดโดยตลาดทั้งหมด และไม่เพียงแต่จีน
เท่านั้น ประเทศส่วนใหญ่ในโลก จะมีรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมราคาเพื่อให้ได้ในราคาที่เหมาะสมกับ
ความต้องการของประชาชน

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ไทย-อาเซียนร่วมมือเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน



บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หารือทวิภาคีกับภาคธุรกิจอาเซียนในภูมิภาคเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานให้มีความมั่นคง ไม่เกิดการขาดแคลน และมีความร่วมมือในการซื้อขายพลังงานระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมย่อยภายในงานการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 26 วันที่ 3 ของการจัดการประชุม

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงการประชุมย่อยภาคธุรกิจอาเซียน (Asean Energy Business Forum 2008) ในงานการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 26 วันที่ 3ของการจัดการประชุม ว่า มีการหารือทวิภาคีกับภาคเอกชนในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับธุรกิจด้านพลังงาน ทั้งการขุดเจาะสำรวจก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ไฟฟ้า ไฮโดรเจน และน้ำมัน เพื่อให้มีความเข้าใจในข้อมูลของแต่ละประเทศให้เกิดความร่วมมือกันในการซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศ เนื่องจากกลุ่มอาเซียนเป็นกลุ่มที่มีการค้าขายพลังงานที่ใหญ่ภูมิภาคหนึ่ง เช่น ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานในรูปของพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และนำเข้าพลังงานน้ำมันจากต่างประเทศ รวมถึงการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงที่สกัดจากพืช อาทิ อ้อย น้ำตาล และมันสำปะหลัง มาผลิตเป็นเอทานอลส่งขายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และปาล์มน้ำมันมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ดังนั้น กรอบความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียนถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยเหลือเกื้อกูระหว่างกันได้ เพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มแข็งและมีความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต





ปตท.จะมีการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีพลังงานประเทศอื่นและผู้ค้าพลังงานรายเดิม เกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในภูมิภาคให้มีใช้เพียงพอกับความต้องการใช้ มีการจำหน่ายพลังงานอยู่ในราคาที่เหมาะสม และไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนขึ้น.


http://www.thaienergynews.com/ShowNewsDetail.asp?ObjectID=3606

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พลังงานทางเลือกในอนาคต







ภาวะโลกร้อนไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยและร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ เพราะ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ภัยธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้น เช่น ไฟป่า แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม คลื่นความร้อน หรือพายุทอร์นาโด นับวันจะยิ่งส่งสัญญาณความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เหมือนเป็นการบ่งบอกและกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกเร่งใส่ใจกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากสภาวะ “โลกร้อน”

สำหรับประเทศไทยมีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น ซึ่งการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นส่วนหนึ่งให้เกิดส
ภาวะโลกร้อน ขณะที่การบริโภคพลังานของประเทศก็มีอัตราส่วนสูงขึ้นทุกปีปีละ 1,200 เมกะวัตต์ ดังนั้น ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องหันมาใช้พลังงานทางเลือกใหม่ ๆ และการกระจายแหล่งเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น และจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการจัดการด้านพลังงาน เพื่อให้ประเทศมีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ ควบคู่กับการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของโลกและประเทศไปด้วยกัน ซึ่งกระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการจัดหาและพัฒนาพลังงานของประเทศ ได้กำหนดแนวทางการจัดหาพลังงานเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อนไว้ 3 มาตรการ ได้แก่
1. การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และ 3. การศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต
สำหรับแหล่งพลังงานที่มองเห็นได้เด่นชัด ซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากที่จะเข้ามาเป็นพลังงานทางเลือกแทน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ คือ พลังงานจากถ่านหิน และ พลังงานนิวเคลียร์ โดยจะนำมาใช้ในรูปของ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์



พลังงานนิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 437 โรง รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างเพิ่มอีกในทวีปอเมริกา ยุโรปและเอเชีย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ต้นกำเนิดพลังงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะอาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลกได้แก่ โรงไฟฟ้าแบบน้ำเดือด ( BWR) โรงไฟฟ้าแบบความดันสูง ( PWR ) และโรงไฟฟ้าแบบแคนดู ( CANDU) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิตความร้อนจะไม่มีการเผาไหม้จึงตัดปัญหาเรื่องแก๊สพิษ ฝุ่นละออง และขี้เถ้า แต่เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เนื่องจากการระดมมาตรการความปลอดภัยสูงมาก อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยโดยเฉลี่ยถูกกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดอื่นๆ เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงที่ต่ำมาก
ส่วนถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ ปัจจุบันเป็นเชื้อเพลิงที่มีปริมาณสำรองจำนวนมาก และยังสามารถใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเข้ามาดูแลการก่อมลพิษ ซึ่งในความเป็นจริงการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทุกชนิด จะมีการปล่อยของเสียออกสู่ชั้นบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง เช่น ก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมัน แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีในการผลิตที่จะดูแลไม่ให้ของเสียนั้นสู่ชั้นบรรยากาศได้มาก การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ได้มาตรฐานจะเป็นการประกันความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในระยะยาว ในขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจะทำให้ค่า Ft ในการคำนวณค่าไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่นำมาใช้มีระดับต่ำ นอกจากจะทำให้เราใช้ไฟฟ้าในราคาถูกลงแล้ว ยังช่วยให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันในเชิงต้นทุนการผลิตสินค้า และบริการในระยะยาวด้วย นั่นหมายถึงการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้ การสร้างโรงไฟฟ้าไม่ว่าประเภทใดย่อมนำมาซึ่งการจ้างงานในท้องถิ่น อันจะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนท้องถิ่นมากขึ้น


การหันมามองทางเลือกการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์ จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม ด้วยเหตุผลของถ่านหินที่มีปริมาณจำนวนมากทั่วโลก และราคาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน และกำลังเป็นพลังงานใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ จึงมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ และทำให้ราคาค่าไฟฟ้ามีความมั่นคงไม่ผันผวนอีกด้วย

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

World "Eco Car" สร้างสรรค์ผลงานพลังงานทดแทน



ปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า สภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลก ได้ส่งผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในวงกว้าง อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น การส่งเสริมรณรงค์การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การรณรงค์ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานทางเลือก และการประดิษฐ์คิดค้นกลไกพัฒนาเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญ


คำว่า eco car มาจาก คำว่า economic หมายถึงประหยัด กะทัดรัด ทั้งขนาด และ เรื่องของพลังงานซึ่งคุณลักษณะของ



คุณลักษณะของรถแบบนี้ คือ ใช้เครื่องยนต์ 2 ประเภทคือ 1 แบบ hybrid เช่น เอา ส่วนผสมของน้ำมัน มารวมกับ มอเตอร์ไฟฟ้าและ 2 แบบ ใช้ ไบโอดีเซล คือ น้ำมันดีเซล ผสมกับ น้ำมันปาล์ม หรือ เอธานอล







รถประหยัดพลังงานก็เพื่อให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าที่สุด เป็นการลดการใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ลดปัญหามลพิษในอากาศ สามารถช่วยแก้ปัญหามลพิษ และปัญหาโลกร้อน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมโลกต่อไป




วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หนึ่งในพลังงานทางเลือก "Solar cell พลังงานแสงอาทิตย์"


ภาวะน้ำมันอันเป็นแหล่งพลังงานของโลก มีราคาที่สูงขึ้นทุกวัน ในขณะที่การใช้งานนั้นก๊ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง มีแต่ความต้องการปริมาณน้ำมันที่สูงขึ้น สถานะการณ์เช่นนี้ทำให้ประเทศต่างๆต้องมุ่งศึกษาและใช้พลังงาน ทดแทนแบบใหม่ เพื่อทดแทนการใช้นำมัน พลังงานตัวหนึ่งที่เราสามารถนำมาใช้เปล่าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลยคือ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง อยู่ในรูปแสงแดดให้เป็นพลังงานได้นั้นเราทำผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Solar cell





หลักการทำงานและประเภทของเซลล์แสงอาทิตย์
หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เริ่มจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบ (เรียกว่า อิเล็กตรอน) และประจุบวก (เรียกว่า โฮล) ซึ่งอยู่ในภายในโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ โดยโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นนี้จะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบ และทำให้พาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไหลไปที่ขั้วบวก ซึ่งทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงขึ้นที่ขั้วทั้งสอง เมื่อเราต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น หลอดไฟ มอเตอร์ เป็นต้น) ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นชนิดกระแสตรง ดังนั้น ถ้าต้องการจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ต้องต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เซลล์แสงอาทิตย์คืออะไร

ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ใช้เชื้อเพลิง โครงการนี้จึงมีส่วนช่วยลด CO2 SOX และ NOX ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน และ ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการกำจัดสารต่างๆ ดังกล่าวนั้นด้วย



จุดเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์
1.แหล่งพลังงานได้จากดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.เป็นแหล่งพลังที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม
3.สร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เครื่องคิดเลข ไปจนถึงโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
4.ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น ซึ่งระบบไฟฟ้าปกติแหล่งผลิตไฟฟ้ากับจุดใช้งานอยู่คนละที่ และจะต้องมีระบบนำส่ง แต่เซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าในบริเวณที่ใช้งานได้




http://www.electhai.com/view.php?catalog=2&id=article_18.htm

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

มารู้จัก “โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในเอเชีย”




เรามารู้จัก “โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในเอเชีย” นับเป็นเวลาร่วม 60 ปีแล้วที่โลกรู้จักปรากฏการณ์ Fission ว่าเวลานิวเคลียสของยูเรเนียม 235 รับอนุภาคนิวตรอนเข้าไปจะแบ่งแยกตัว และมีพลังงานปริมาณมหาศาลเกิดขึ้นซึ่งพลังงานนี้สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อถึงวันนี้โลกมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้รวมทั้งสิ้น 441 เตา



ทั้งๆ ที่ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าชนิดนี้สูงมาก และภัยอันตรายจากกัมมันตรังสีก็รุนแรง แต่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในเอเชียก็กำลังก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่ม เช่น อินเดียกำลังก่อสร้างอีก 8 โรง จีนอีก 2 โรง ไต้หวันอีก 2 โรง ญี่ปุ่นอีก 3 โรง และปากีสถานอีก 1 โรง ทั้งนี้เพราะความต้องการไฟฟ้าของประชากรเอเชียกำลังเพิ่มตลอดเวลา และผู้คนเอเชียมีความคิดว่า ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งมีบทบาทในการทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก อีกทั้งราคาน้ำมันและก๊าซก็มีแนวโน้มจะเพิ่มตลอดเวลา ดังนั้น คนหลายคนจึงมีความหวังจะพึ่งพาโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าป้อนความต้องการ และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่า เหตุใดเอเชียจึงกำลังสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 16 โรง



จีนมิได้เป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ต้องการโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่ม ญี่ปุ่นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีโครงการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่ม เมื่อ 3 ปีก่อนนี้ ญี่ปุ่นซึ่งใช้ไฟฟ้า 25.5% จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ มีแผนในปี พ.ศ. 2556 จะผลิตไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเป็น 40.4% ณ วันนี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นจัดสร้างใหม่ 3 โรง กำลังจะเสร็จและอีก 12 โรง กำลังอยู่ในขั้นเตรียมการ ส่วนอินเดียนั้นก็กำลังสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มอีก 8 โรง และเกาหลีก็กำลังวางแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 8 โรงเช่นกัน นอกจากปัญหาด้านการก่อสร้างที่ต้องการความรู้ ความสามารถ เงินทุน และความรับผิดชอบเรื่องภัยอันตรายจากกัมมันตรังสีรั่วไหลแล้ว ปัญหากากกัมมันตรังสีก็เป็นปัญหาใหญ่อีกเรื่องหนึ่งในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งภัยนี้นับเป็นภัยที่รุนแรง และเป็นพิษยาวนาน และสำหรับวิธีการแก้ปัญหานั้น ทุกคนก็มีความเห็นแนวเดียวกันว่า ต้องขุดหลุมลึกเพื่อเก็บกากกัมมันตรังสีในภาชนะที่แข็งแรง และทนทาน จากนั้นก็ภาวนาว่า แผ่นดินบริเวณนั้น ไม่แตกแยกเป็นเวลานานหมื่นปี หากทำเช่นนี้ได้ผู้คนในประเทศก็จะปลอดภัย




http://ecurriculum.mv.ac.th/science/library_sci/nanotec/ViewNews.aspx-NewsID=9490000023643.htm

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

"พลังงานทางเลือก" เทรนด์ใหม่ของการลงทุน


"ราคาน้ำมัน" ในตลาดโลกสูงขึ้นต่อเนื่อง "ปัญหาโลกร้อน" ที่เราเคยพูดกันเป็นเหมือนแฟชั่น และมองว่าใกล้ตัว วันนี้ดูเหมือนมันกลายเป็นเพื่อนสนิทกับคนทั้งโลก
"การสร้างพลังงานทดแทน" จึงเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันหนาหูขึ้น คนทั้งโลกก็เริ่มตระหนัก และใส่ใจกับเรื่องนี้กันอย่างจริงจังขึ้น อาจจะได้เวลา และถึงจุดที่โลกต้องหันไปหาพลังงานใหม่ๆ และลดการพึ่งพาพลังงานแบบดั้งเดิมให้ได้ เพื่อความอยู่รอดของมวลมนุษย์





เหตุผลที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ตื่นตัวโปรโมทการพัฒนาและการหันมาใช้พลังงานทางเลือกใหม่มี 2 เหตุผลหลักคือ ต้องการเยียวยาปัญหาโลกร้อนและรักษาสิ่งแวดล้อม และอีกผลหนึ่งคือ เป็นทางออกเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
พลังงานใหม่กลายเป็นโอกาสการลงทุน

ในช่วงที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้ลงทุนทั้งหลาย กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือ ผู้ลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นของบริษัทพลังงานใหม่ๆ เช่น พลังงานที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และเห็นการลงทุนในพลังงานใหม่ๆ เหล่านี้ เป็น "the next big thing" โดย New Energy Finance บริษัท วิจัยในธุรกิจพลังงานทางเลือกใหม่ใน London กล่าวว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับพลังงานที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ของโลก หรือ renewable energy จะเติบโตอย่างรวดเร็วภายใน 10 ปีข้างหน้า พร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมของดัชนีของหุ้นกลุ่มพลังงานสะอาดนี้ว่า ปีนี้ The Nex clean energy index ปรับตัวสูงขึ้นถึงกว่า 40% ในขณะที่ S&P500 ปรับตัวขึ้น 7% The Jefferies Cleantech Index ปรับตัวสูงขึ้น 51% ซึ่งไตรมาสแรกของปีดัชนี Nex ปรับตัวสูงขึ้น 17.6% ในขณะที่ S&P500 และ NASDAG ปรับตัวขึ้น 0.2% และ 0.3% กลุ่มที่มีอิทธิพลทำให้ดัชนี Nex ปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด คือ พลังงานลม ปรับตัวสูงขึ้น 35.49% เนื่องจากได้รับผลดีจากการพัฒนาในยุโรป และพลังงานแสดแดดปรับขึ้น 28.8%)








Lipper feri แหล่งข้อมูลด้านการลงทุนในกองทุนรวม ยังให้ข้อมูลว่าเม็ดเงินลงทุนจากผู้ลงทุนที่เข้าไปลงทุนในกองทุนหุ้นนั้น เป็นเงินลงทุนที่ต้องการเข้าไปลงทุนในกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากถึง 15% ในขณะที่มีสัดส่วนเพียง 2.6% เท่านั้นในปีที่แล้ว บางกองทุนที่มีแนวคิดการลงทุนเกี่ยวกับบรรยากาศของโลกที่เปลี่ยนไป (climate change fund) มีผู้ลงทุนสนใจเข้าร่วมลงทุนจำนวนมาก
ผู้รู้ด้านการลงทุนในต่างประเทศบางคนให้ความเห็นว่า ความสนใจของผู้ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับพลังงานใหม่ๆ เหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่เกี่ยวข้องในอีกมุมหนึ่งของปัญหาโลกร้อน ก็คือ มีเรื่องความขาดแคลนหายากขึ้นของพลังงานแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน เกี่ยวข้องอยู่ด้วย


เมื่อมีผู้ลงทุนกลุ่มหนึ่งที่ตระหนัก และเริ่มกังวลในความจริงข้อนี้และผู้ลงทุนกลุ่มนี้มีจำนวนมากพอสมควร จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พฤติกรรมการลงทุนของผู้ลงทุนเหล่านี้เปลี่ยนไป ผู้ลงทุนกลุ่มนี้เชื่อว่าสภาพปัญหาโลกร้อน ผนวกกับความหายากของน้ำมัน และความกังวลต่อความมั่นคงด้านพลังงานหากยังพึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก แรงบีบและความจำเป็นเหล่านี้ จะทำให้เกิดการปฏิวัติด้านเทคโนโลยี โดยคาดว่าสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น จะเป็นตลาดหลักที่สร้างโอกาสในการลงทุนในพลังงานทางเลือกใหม่







วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สถานการณ์ความเคลื่อนไหว ด้านพลังงานระหว่างประเทศ


รายงานข่าวและสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหว
ด้านพลังงานระหว่างประเทศ


โลกในยุคปัจจุบันความต้องการการใช้พลังงานถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น ยิ่งยุคน้ำมันแพงเช่นนี้ด้วยแล้วประเทศต่างๆในโลกต่างกระตือรือร้นในการคิดค้นและพัฒนาพลังงานทดแทนต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกเรื่องราว และสถานการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับพลังงานทดแทนได้ดำเนินการอย่างไม่หยุดยั้ง สัปดาห์นี้ทางเรามีตัวอย่างสถานการณ์ความคืบหน้าบางสถานการณ์ นำมาเสนอให้กับผู้อ่านที่สนใจ







ญี่ปุ่นสนับสนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในบ้านพักอาศัย
หนังสือพิมพ์ Nikkei Financial รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมใช้มาตรการในการสนับสนุนให้บ้านพักอาศัยใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ โดยรัฐบาลจะชดเชยและงดเก็บภาษีในปีหน้าทางด้านนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศที่จะเป็นผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 60-80 % ภายในปี 2050 รวมทั้งยังมีการตั้งเป้าสร้างบ้านที่ใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ 70% ภายในปี 2020



โรงกลั่นในจีนเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น
โรงกลั่นของจีนสูญเสียรายได้กว่า 435 ดอลล่าร์ต่อตันจากการที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นและราคาขายภายในประเทศที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาล






จีน เกาหลีใต้ อินเดีย ลงนามซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า
บริษัท Daewoo International Group Corporation ได้นำบริษัท CNPC ของจีน และบริษัทพลังงานของหลายประเทศ ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการซื้อและขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งนอกชายฝั่งของพม่า การร่วมกลุ่มของ Daewoo ประกอบด้วย บริษัท South Korea Gas Corporation ,India's ONGC Videsh และ Gas Authority of India Ltd (GAIL)ปัจจุบันมี 13 บริษัทที่มีโครงการอยู่ในแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในพม่า โดยมีประเทศ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา จีน อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย รัสเซีย และไทย นอกจากนี้จีนเตรียมเปิดโครงการใหญ่กว่า 10 โครงการทางมณฑลฝั่งตะวันตกของประเทศจีนเพื่อเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศส่วนด้านพลังงาน จะมีการสร้างสถานีบริการไฮโดรเจน การสร้างเหมืองถ่านหิน การสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน




ประเทศจีนพัฒนาพลังงานลม
ล่าสุดหลังจากที่ประเทศจีนได้ถูกประณามจากประชาคมโลกว่า เป็นตัวการ1 ใน 3 ของผู้ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน โดยหลังจากที่จีนใช้พลังงานถ่านหินจำนวนมาก ดังนั้นจีนจึงมีนโยบายใช้พลังงานทดแทนซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ก่อให้เกิดก๊าซภาวะเรือนกระจก และคาร์บอนไดออกไซน์สูง โดยที่ประเทศจีนได้เปิดการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมโดยในครั้งแรกมีกังหันลมประมาณ 100 ต้น เพื่อทดสอบกำลังการผลิตในมณฑล มองโกเลีย ทางตอนเหนือของประเทศจีนซึ่งอยู่ในภูมิประเทศโล่งกว้าง ติดเชิงเขากั้นประเทศระหว่างจีนและรัสเซีย โดยมีพื้นที่ก้างพอๆกับอเมริกาใต้ แต่มีประชากรน้อยกว่ามาก โดยกังหันลมใช้แรงลมประมาณ 20 นอต แต่แรงลมในบริเวณนั้นเร็วถึง 25 นอต และโดยประเทศจีนยังมีโครงการที่มีจะพัฒนาพลังงานทางเลือกต่อไปอีกด้วยนะครับ



SOURCE:http://www.energy.go.th/(กระทรวงพลังงาน)

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พลังงานทดแทนในยุคน้ำมันแพง


ในปัจจุบันโลกประสบกับปัญหาราคาของน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน้ำมันนับได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน และในขณะนี้ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นทุกวัน ได้สร้างปัญหาและผลกระทบให้กับประเทศต่างๆเป็นอย่างมาก ดังนั้นทุกประเทศทั่วโลกจึงหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันหรือพลังงานทางเลือกนั้นได้มีหลายชนิด เช่น ไบโอดีเซล อี20 อี85 ไฮบริท พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น






ไบโอดีเซล

ไบโอดีเซลที่ได้รับการยอมรับว่าได้มาตรฐานกว่าวิธีอื่น คือการใช้กระบวนการทางเคมีเข้าเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของนำมันพืชโดยใช้แอลกอฮอล์เข้าไปทำปฏิกิริยาทางเคมีที่เรียกว่า "transesterification"กับน้ำมันพืชโดยใช้กรดหรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จนกระทั่งได้เอสเทอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล







แก๊สโซฮอล์

แก๊สโซฮอล์คือพลังงานทางเลือกที่มุ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนน้ำมันเบนซิล ทั้งชนิด 91และ95 ขณะที่แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซิลและเอทานอลในอัตราส่วน น้ำมันเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน ทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์สะอาด ช่วยลดควันดำ




พลังงานไฮบริด

ไฮบริด (hybrid) คือ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า


ก๊าซซีเอ็นจี (CNG)


ก๊าซเอ็นวี หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มี มีเทน เป็นส่วนประกอบหลักและถูกอัดจนมีความดันสูง ซึ่งในบางประเทศเรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด หรือซีเอ็นจี (Compressed Natural Gas)


ก๊าซแอลพีจี(LPG)


ก๊าซแอลพีจี(Liquefied Petroleum Gas: LPG) หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เบากว่าน้ำแต่หนักกว่าอากาศจึงลอยอยู่ในระดับต่ำ มีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย




th.wikipedia.org/wiki/พลังงานทางเลือก